ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 1 การ
กำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก
นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน
สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา
นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ
ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง
ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้น
อย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลัก
ฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ)
และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์
วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า
มีความน่าเชื่อถือหรือไม่
ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบ
คู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา
หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น
และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการ
วิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐานการ
ตีความหลักฐาน หมายถึง
การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร
โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรม
ต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัด
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง
หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้
ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ
ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต
ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ
การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน
อาร์. จี. คอลลิงวูด (R.
G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ...
โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ...
พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or
inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)
อี. เอช. คาร์ (E.
H. Carr)
อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์
ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา
ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต (What is
history?, is that it is a continuous process of interaction between the
present and the past.)
ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นัก
วิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงคำ
ว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้
"การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ...
เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ
เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น